ความงดงามของพรหมภูมิ ตอนที่ 2 : ระดับชั้นของรูปพรหม

ในบรรดารูปพรหมทั้งหลายยังมีการแบ่งระดับชั้นตามภูมิที่อยู่ ซึ่งมีทั้งหมด 16 ชั้น มีหลักการแบ่งชั้น คือ แบ่งตามระดับความแก่อ่อนของกำลังฌาน

บทความ Articles > ตายแล้วไปไหน Life After Death > พรหมภูมิ
[ 10 มิ.ย. 2554 ] - [ : 18270 ]
   Bookmark and Share  
Share Facebook   
ตายแล้วไปไหน
ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร
 
ความงดงามของพรหมภูมิ ตอนที่ 2 : ระดับชั้นของรูปพรหม
 
     เราได้ทราบแล้วว่า การมาบังเกิดเป็นรูปพรหมนั้น จะต้องเป็นผู้ที่ใฝ่ใจในการประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งกระทำฌานให้เกิดขึ้นได้ เมื่อละโลกไปแล้วก็จะไปบังเกิดเป็นพรหม
 
 
รูปร่างที่งดงามของพรหม
พรหมมีด้วยกัน 16 ชั้น
 
     ในบรรดารูปพรหมทั้งหลายยังมีการแบ่งระดับชั้นตามภูมิที่อยู่ ซึ่งมีทั้งหมด 16 ชั้น มีหลักการแบ่งชั้น คือ แบ่งตามระดับความแก่อ่อนของกำลังฌาน รูปพรหมที่มีกำลังฌานอ่อน จะอยู่ในชั้นล่างๆ ส่วนรูปพรหม ที่มีกำลังฌานแก่ จะอยู่ในชั้นที่สูงขึ้นไป รูปพรหมทั้ง 16 ชั้น มีการจัดกลุ่มตามกำลังฌานที่เข้าถึง คือ รูปฌาน 4 โดยไล่ตามกำลังฌานอ่อนที่สุดไปถึงกำลังฌานแก่ที่สุด ดังนี้
 
1. ปฐมฌานภูมิ 3 ประกอบด้วย พรหมปาริสัชชาภูมิ พรหมปุโรหิตาภูมิ และมหาพรหมาภูมิ
2. ทุติยฌานภูมิ 3 ประกอบด้วย ปริตตาภาภูมิ อัปปมาณาภาภูมิ และอาภัสสราภูมิ
3. ตติยฌานภูมิ 3 ประกอบด้วย ปริตตสุภาภูมิ อัปปมาณสุภาภูมิ และสุภกิณหาภูมิ
4. จตุตถฌานภูมิ 7 ประกอบด้วย เวหัปผลาภูมิ อสัญญีสัตตาภูมิ และพรหมสุทธาวาสภูมิ 5
 
ปฐมฌานภูมิ 3
 
     เป็นสถานที่อยู่ของผู้ที่ได้ปฐมฌาน สถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกัน มิได้ตั้งอยู่สูงต่อๆ กันไปตามลำดับชั้นอย่างสวรรค์ ประกอบด้วย พรหมปาริสัชชาภูมิ พรหมปุโรหิตาภูมิ มหาพรหมาภูมิ
 
1. พรหมปาริสัชชาภูมิ เป็นสถานที่อยู่ของพรหมที่ได้ปฐมฌานอย่างอ่อน พรหมที่อยู่ในชั้นนี้เป็นพรหมธรรมดาสามัญ ไม่มีอำนาจพิเศษอันใด ทำหน้าที่เป็นบริษัทหรือเป็นบริวารของมหาพรหม พรหมชั้นนี้ มีอายุ 1 ใน 3 ของวิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
 
2. พรหมปุโรหิตาภูมิ เป็นสถานที่อยู่ของพรหมที่ได้ปฐมฌานอย่างกลาง พรหมที่อยู่ในชั้นนี้เป็นปุโรหิตหรือเป็นที่ปรึกษาของมหาพรหม และอยู่ในตำแหน่งผู้นำในกิจการทั้งหลายของมหาพรหม พรหมชั้นนี้มีอายุ 1 ใน 2 ของวิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
 
รูปร่างหน้าตาของพรหม
การมาบังเกิดเป็นรูปพรหมนั้น จะต้องเป็นผู้ที่ใฝ่ใจในการประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ
จนกระทั่งกระทำฌานให้เกิดขึ้นได้
 
3. มหาพรหมาภูมิ เป็นสถานที่อยู่ของพรหมที่ได้ปฐมฌานอย่างแก่ พรหมที่อยู่ในชั้นนี้เป็นหัวหน้า เป็นใหญ่ยิ่งกว่าพรหมปาริสัชชาและพรหมปุโรหิตา และมหาพรหมาภูมิยังเป็นที่อยู่ของท้าวสหัมบดีพรหม ซึ่งเป็นผู้ทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์อีกด้วย พรหมชั้นนี้มีอายุ 1 วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
 
     การจัดแบ่งสถานที่อยู่ของพรหมที่ได้ปฐมฌานนั้นมีหลักการคือ พรหมที่ได้ฌานอย่างแก่ มีบุญมาก มีรัศมีสว่างไสว จะอยู่ที่ศูนย์กลางภพ ส่วนพรหมที่มีกำลังฌานรองลงไป จะอยู่ถัดออกไปโดยรอบ กล่าวคือ ศูนย์กลางภพเป็นที่อยู่ของมหาพรหม ถัดออกไปเป็นที่อยู่ของพรหมปุโรหิตา และที่อยู่วงนอกสุดเป็นที่อยู่ของพรหมปาริสัชชา สำหรับการจัดแบ่งสถานที่อยู่ของพรหมในทุติยฌานภูมิและตติยฌานภูมิ ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้
 
ทุติยฌานภูมิ 3
 
     เป็นสถานที่อยู่ของผู้ที่ได้ทุติยฌาน สถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกัน สูงขึ้นไปกว่าชั้นปฐมฌานภูมิ ประกอบด้วย ปริตตาภาภูมิ อัปปมาณาภาภูมิ อาภัสสราภูมิ
 
4. ปริตตาภาภูมิ เป็นสถานที่อยู่ของพรหมที่ได้ทุติยฌานอย่างอ่อน พรหมที่อยู่ในชั้นนี้มีรัศมีน้อยกว่าพรหมที่อยู่เบื้องบน (ปริตตะ แปลว่า น้อย อาภา แปลว่า รัศมี ความสว่าง) พรหมชั้นนี้มีอายุ 2 มหากัป
 
5. อัปปมาณาภาภูมิ เป็นสถานที่อยู่ของพรหมที่ได้ทุติยฌานอย่างกลาง พรหมที่อยู่ในชั้นนี้มีรัศมีหาประมาณมิได้ พรหมชั้นนี้มีอายุ 4 มหากัป
 
6. อาภัสสราภูมิ เป็นสถานที่อยู่ของพรหมที่ได้ทุติยฌานอย่างแก่ พรหมที่อยู่ในชั้นนี้มีรัศมีแผ่ซ่าน ออกมาจากร่างกาย มีความยินดีในฌานของตนอย่างเต็มที่ เป็นไปด้วยอำนาจของปีติอยู่เสมอ จิตใจจึงมี ความผ่องใสมากอยู่เสมอ ส่งผลให้กายผ่องใสจนปรากฏออกมาเป็นรัศมีแผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย พรหมชั้นนี้ มีอายุ 8 มหากัป
 
พรหมที่มีรัศมีแผ่ออกมา
พรหมที่มีรัศมีแผ่ซ่านออกมาจากร่างกาย มีความยินดีในฌานของตนอย่างเต็มที่
 
ตติยฌานภูมิ 3
 
     เป็นสถานที่อยู่ของผู้ที่ได้ตติยฌาน สถานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกัน สูงขึ้นไปกว่าชั้นทุติยฌานภูมิ ประกอบด้วย ปริตตสุภาภูมิ อัปปมาณสุภาภูมิ สุภกิณหาภูมิ
 
7.ปริตตสุภาภูมิ เป็นสถานที่อยู่ของพรหมที่ได้ตติยฌานอย่างอ่อน พรหมที่อยู่ในชั้นนี้มีรัศมีสวยงามเช่นเดียวกับรัศมีของดวงจันทร์ เป็นความสว่างที่ไม่กระจัดกระจายออกจากกัน รัศมีรวมกันอยู่เป็นวงกลม แต่ยังสวยงามน้อยกว่าพรหมที่อยู่เบื้องบน พรหมชั้นนี้มีอายุ 16 มหากัป
 
8.อัปปมาณสุภาภูมิ เป็นสถานที่อยู่ของพรหมที่ได้ตติยฌานอย่างกลาง พรหมที่อยู่ในชั้นนี้มีรัศมีสวยงามหาประมาณมิได้ พรหมชั้นนี้มีอายุ 32 มหากัป
 
9.สุภกิณหาภูมิ เป็นสถานที่อยู่ของพรหมที่ได้ตติยฌานอย่างแก่ พรหมที่อยู่ในชั้นนี้มีรัศมีสวยงามตลอดทั่วร่างกาย พรหมชั้นนี้มีอายุ 64 มหากัป
 
จตุตถฌานภูมิ 7
 
     เป็นสถานที่อยู่ของผู้ที่ได้จตุตถฌาน ประกอบด้วย เวหัปผลาภูมิ อสัญญีสัตตาภูมิ และสุทธาวาสภูมิ 5 ได้แก่ อวิหาภูมิ อตัปปาภูมิ สุทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ อกนิฏฐาภูมิ
 
10. เวหัปผลาภูมิ เป็นสถานที่อยู่ของพรหมที่มีผลไพบูลย์ คือเป็นผลของกุศลที่มั่นคงไม่หวั่นไหวเป็นพิเศษ ตามอำนาจของฌาน ผลของกุศลในชั้นปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ และตติยฌานภูมิ ไม่สามารถ บังเกิดในชั้นเวหัปผลาภูมิได้ เพราะเมื่อยามโลกถูกทำลาย ภูมิทั้ง 3 ระดับย่อมถูกทำลายไปด้วย ดังนี้
 
เมื่อโลกถูกทำลายด้วยไฟ ปฐมฌานภูมิ จะถูกทำลายไปด้วย
เมื่อโลกถูกทำลายด้วยน้ำ ปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ จะถูกทำลายไปด้วย
เมื่อโลกถูกทำลายด้วยลม ปฐมฌานภูมิ ทุติยฌานภูมิ ตติยฌานภูมิ จะถูกทำลายหมด
 
พรหมมีทั้งหมด 16 ชั้นด้วยกัน
แม้ว่าพรหมจะมีอายุยืนยาวมากก็ตามท้ายก็ต้องตายจากความเป็นพรหมด้วยกันทั้งสิ้น
 
     ในบรรดาพรหมทั้ง 9 ภูมิที่กล่าวมา สุภกิณหามีอายุยืนมากกว่าพรหมอื่นๆ ที่เกิดอยู่ในภูมิต่ำกว่า คือมีอายุขัยถึง 64 มหากัป โดยพรหมองค์ที่มีอายุเต็ม 64 มหากัป จะต้องเป็นองค์ที่อุบัติขึ้นพร้อมกับการสร้างโลกใหม่ ส่วนองค์ที่เกิดตามมาภายหลังย่อมมีอายุลดลงไปตามลำดับ เมื่อครบกำหนด 64 มหากัป ตติยฌานภูมินี้จะถูกทำลายด้วยลมทุกครั้งไป สำหรับเวหัปผลาภูมิ พ้นจากการถูกทำลายทั้งด้วยไฟ น้ำ และลม พรหมทุกองค์ที่บังเกิด ณ ที่นี้จึงมีอายุขัยได้เต็มที่ คือ 500 มหากัปเสมอไป
 
11. อสัญญีสัตตาภูมิ เป็นสถานที่อยู่ของพรหมที่ไม่มีนามขันธ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) มีแต่รูปขันธ์ คือ ดับความรู้สึกข้างนอกหมด ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น แต่กิเลสยังไม่ดับ มีรูปร่างผิวพรรณงดงามคล้ายพระพุทธรูปทองคำ มีอิริยาบถ 3 อย่าง คือ นั่ง นอน หรือยืน แล้วแต่อิริยาบถก่อนตายในชาติที่แล้วมา และจะอยู่ในอิริยาบถเดียวนิ่งๆ แข็งทื่ออยู่อย่างนั้นจนครบอายุขัย จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า พรหมลูกฟัก อสัญญีสัตตาพรหมนี้จัดว่าเป็นอาภัพพสัตว์ คือ ไม่สามารถตรัสรู้ได้ในชาตินั้น พรหมชั้นนี้มีอายุ 500 มหากัป เช่นเดียวกับเวหัปผลาภูมิ
 
     จตุตถฌานภูมิทั้ง 2 นี้ตั้งอยู่กลางอากาศ สูงกว่าตติยฌานภูมิ พรหมใน 2 ชั้นนี้สามารถมองเห็นซึ่งกันและกัน และมองเห็นพรหมชั้นที่อยู่ต่ำกว่าได้ ส่วนพรหมชั้นต่ำกว่าไม่สามารถมองเห็นพรหมชั้นสูงได้
 
     รูปพรหมทั้ง 11 ชั้นที่กล่าวมานี้ แม้ว่าจะมีอายุยืนยาวมากก็ตาม ท้ายที่สุดจะต้องตายจากความเป็นพรหมด้วยกันทั้งสิ้น ตราบใดที่ยังมิได้เป็นพระอริยบุคคล อาจต้องไปเสวยทุกข์ในอบายภูมิก็เป็นได้ ทิพยสมบัติอิทธิฤทธิ์ รัศมีที่รุ่งเรือง การมีอายุยืนต่างๆ เหล่านี้ไม่สามารถช่วยตนเองได้เลย
 

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

 
บทความที่เกี่ยวข้องกับความงดงามของพรหมภูมิ ตอนที่ 2 : ระดับชั้นของรูปพรหม
 
 
 
 


พิมพ์บทความนี้


<< ก่อนหน้า
ความงดงามของพรหมภูมิ ตอนที่ 1 ความงดงามของพรหมภูมิ ตอนจบ
ถัดไป >>

   

Bookmark and Share   





   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

พระศรีอริยเมตไตรย์
พระศรีอริยเมตไตรย์

พุทธประวัติ
ภาพพุทธประวัติ


ธรรมะเพื่อประชาชน

ดอกไม้บาน

ทอดผ้าป่าเขาแก้วเสด็จทุกวันเสาร์

Peace Photo
ภาพแห่งการสร้างบารมีเพื่อสันติภาพโลก

Meditation and Peace

อยู่ในบุญ

ปฏิทินบุญ

Free Wallpaper Download

Free Ecards

ตักบาตรพระ 1 ล้านรูป